วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ


เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ 10 วิธี

ทุกวันนี้ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน .....

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ 10 วิธี

ทุกวันนี้ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน ดังวิธีสอนต่อไปนี้

1.วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล ( Grammar Transalation ) เป็นวิธีการสอนที่เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน

ลักษณะเด่น

1.1ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ

1.2ในด้านคำศัพท์ ครูจะสอนครั้งละหลายคำ บอกคำแปลภาษาไทย บางครั้งเขียนคำอ่านไว้ด้วย

1.3ครูเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน

1.4ครูเน้นวัดผลด้านความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ ความสามารถในการแปล

1.5ครูมีบทบาทสำคัญมากที่สุด

1.6นักเรียนเป็นผู้รับฟัง และจดสิ่งที่ครูบอกลงในสมุด

1.7นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่างๆ ทางไวยากรณ์นั้นๆ

1.8นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้นๆ

1.9นักเรียนได้ฝึกนำศัพท์มาใช้ในรูปประโยค

2.วิธีสอนแบบตรง เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็จะสามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่

ลักษณะเด่น

2.1ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนพูดโต้ตอบ

2.2ครูสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อที่เอื้อต่อการเรียนการสอน

2.3อธิบายคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และใช้ตัวอย่างประกอบเป็นของจริง

2.4การวัดผลเน้นทักษะการฟัง และพูด เช่น การเขียนตามคำบอก การปฏิบัติตามคำสั่ง

3.วิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method ) เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีการสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบตามลำดับจากง่ายไปหายาก

ลักษณะเด่น

3.1ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ

3.2ครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดซ้ำๆกัน ในรูปแบบที่

แตกต่างกัน

3.3ครูมุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคทางภาษาในห้องเรียนมากกว่าประโยชน์การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

3.4นักเรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำๆ

3.5นักเรียนเป็นผู้ลอกเลียนแบบ และปฏิบัติตามครูจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากจนเกิดเป็นนิสัย

สามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ

4.วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบความรู้ความเข้าใจ ( Cognitive Code Learning Theory ) วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่า ภาษาเป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจในรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้

ลักษะเด่น

4.1ครูมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียนตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method )

4.2ครูสอนเนื้อหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของนักเรียน ที่มีความสามารถในทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่แตกต่างกัน

4.3สนับสนุนให้ผุ้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

4.4ใช้ภาษาไทยในการช่วยอธิบาย แต่อธิบายเฉพาะในเรื่องการฟังและพูด

4.5การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ละขั้นตอน

5.วิธีการสอนตามเอกัตภาพ ( Individualized Instruction ) ในรูปแบบนี้ ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ

ลักษณะเด่น

5.1การสอนเปลี่ยนจากครูเป็นหลัก กลายเป็นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

5.2ครูพยายามให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล

ให้ได้มากที่สุด

5.3ครูจะเตรียมสื่อ เอกสาร บทเรียน โปรแกรม ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและแนวคำตอบไว้ให้ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

6. วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ( Total Physical Response Method ) แนวการสอนแบบนี้ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี

ลักษณะเด่น

6.1ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู

6.2ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง จนถึงระยะเวลาที่

นักเรียนสามารถพูดได้แล้ว จึงเรียนอ่านและเขียนต่อไป

6.3ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์

มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคำสั่ง

6.4นักเรียนจะข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู

6.5ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น